Saturday, February 18, 2012

การทักทาย : การกล่าวทักทาย และการถามสารทุกข์


การทักทาย : การกล่าวทักทาย และการถามสารทุกข์

เมียนมา (พม่า)

ลำดับแรกก่อนที่จะเรียนรู้ภาษาพม่านั้น ขอเรียนว่าภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีความแตกต่างจากภาษาไทยมาก  เนื่องจากภาษาพม่าเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ซึ่งอยู่ภายใต้ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ส่วนภาษาไทยจะอยู่ในตระกูลภาษาไท-ไต (Thai-Tai) นั่นคือภาษาพม่ามีลักษณะร่วมทางภาษาใกล้เคียงกับภาษาทิเบตและภาษาจีน แต่จะแตกต่างจากภาษาไทย โดยสิ้นเชิง นอกจากนั้นสังเกตได้ว่าภาษาพม่ามีเสียงพยัญชนะลงท้ายพยางค์น้อยกว่าในภาษาไทย นับเป็นภาษาที่ไม่มีพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดอยู่ท้ยคำเหมือนกับภาษาไทยแม้แต่เสียงเดียว ตามระบบเสียงในภาษาพม่าคำทุกพยางค์จะออกเสียงเป็นพยางค์เปิดทั้งสิ้น
ในการทักทายของชาวพม่ามีคำทักทายอย่างสุภาพว่าเป็นคำมงคล คือ "min-ga-la-ba" (มินกะลาบา) แปรว่า สวัสดี  มีส่วนประกอบมาจาก min-ga-la (มินกะลา) เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี แปรว่า "มงคล" พม่าใช้ทักทายเช่นเดียวกับไทยใช้คำว่า สวัสดี  ba (บา) เป็นคำประกอบเพื่อแสดงความสุภาพและ แปลว่ามี – มีมาดังนั้นคำว่า มีน์กะลาบา จึงมีความหมายรวมว่า มีมงคล
หากผู้พูดเป็นผู้หญิงควรลงท้ายด้วย“shin” (ชิน - ถ้าออกเสียง 'sh' ไม่เป็น) เป็นคำแสดงความสุภาพผู้หญิง เช่นเดียวกับ "ค่ะ" ในภาษาไทย ควรออกเสียงคล้ายตัว "-sh" ในภาษาอังกฤษ คือออกเสียงให้มีลมรั่วผ่านริมฝีปากออกมาเล็กน้อย  ถ้าออกเสียงตัว "-sh" ในภาษาอังกฤษไม่ถนัด ขอให้ลองออกเสียงให้ยาวขึ้นเป็น "มินกะลาบา ชิน" เสียงจะคล้ายกันมาก  หากผู้พูดเป็นผู้ชายควรลงท้ายด้วยkhin-mya” (คินเมี่ยย) เป็นคำแสดงความสุภาพผู้ชาย แปลว่า “ครับ” ดังนั้น ผู้หญิงถ้าจะพูดเต็มๆคือ มินกะลาบาชิน และ ผู้ชายคือ มินกะลาบาคินเมี่ยย 
แต่ถ้าเป็นชาวพม่าทั่วๆไปไม่ค่อยนิยมทักทายกันด้วยคำว่า"มินกะลาบา" บ่อยนัก เพราะถ้าใช้บ่อยเกินไปก็จะพาให้รู้สึกห่างเหิน เนื่องจากชาวพม่านิยมทักทายแบบเป็นกันเองว่า ส่วนมากจะนิยมทักทายด้วยการเรียกชื่อ บางทีก็ถามไถ่ธุระส่วนตัวกันมากกว่า เช่น จะไปไหน [be thwa: ma le:] (แบ-ตว้า-มะแล) หรือ สบายดีหรือ [nei kaun: la:] (เน-เกา-ล้า) หรือ กินข้าวแล้วหรือ [htamin: sa: pyi: pyi la:] (ทะมิน-ซา-ปี๊บี่ล้า) ชาวพม่าจะกล่าวทักทายด้วยถ้อยคำ  “มินกะลาบา” เฉพาะกับคนที่ไม่ค่อยรู้จักหรือ ไม่ค่อยคุ้นเคย โดยเฉพาะกับชาวต่างประเทศ ฉะนั้นหากสนิทกันบ้างแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทักทายด้วย   มินกะลาบาก็ได้ อันที่จริงพม่าก็นิยมทักทายเหมือนๆกับคนไทยนั่นเอง คือ นิยมทักกันด้วยชื่อ พร้อมกับถามสารทุกข์สุกดิบ จึงจะดูน่าประทับใจ 
สุภาพบุรุษอาจทักทายกันตามแบบสากลด้วยการสัมผัสมือพร้อมกับยิ้ม อย่างไรก็ตาม การทักทายด้วยการแตะต้องและ ยื่นมือไปหาสุภาพสตรีถือว่าไม่สุภาพ จึงอาจทักทายด้วยการโค้งตัวเล็กน้อยแทน หรือไม่ก็ ผงกหัว ©

No comments:

Post a Comment