Monday, May 7, 2012

ตัวเลข / การนับ


ตัวเลข / การนับ



ในหัวข้อนี้จะขอกล่าวถึงทุกอย่างที่ใช้โดยตัวเลข ได้แก่ การนับเงิน การนับเวลา และลักษณนามที่ใช้โดยรวบรัด
ลำดับแรก มารู้จักกับตัวเลขเมียนมากัน คำแรกเป็นคำเขียนของตัวเลขและ คำที่ต่อมาเป็นตัวเลขแท้ๆ
คือ “ศูนย์” อ่านว่า “thoun-nya” “โตน-ญะ”
คือ “หนี่ง” อ่านว่า “tit” “ติต์”
คือ “สอง” อ่านว่า “hnit” “นิต์”
คือ “สาม” อ่านว่า “thoun” “โตง”
คือ “สี่” อ่านว่า “lay” “เล้”
คือ “ห้า” อ่านว่า “ngar” “ง้า”
คือ “หก” อ่านว่า “chouk” “เช่าก์”
คือ “เจ็ด” อ่านว่า “khun-nit” “คุนนิต์”
คือ “แปด” อ่านว่า “shit” “ชิต์”
คือ “เก้า” อ่านว่า “ko” “โก้”
คือ “สิบ” อ่านว่า “ta-sae” “ตแซ”
หลักร้อย คือ “yar” “ยา”, หลักพัน คือ “htaung” “เทา”, หลักหมื่น คือ thaung“เต้าง์”, หลักแสน คือ “thein” “เต็ง”, หลักล้าน คือ “than” “ตาน”, หลักสิบล้าน คือ “ga-dae” “กะเฎ”
เงินตราเมียนมาคือ “Kyat” จั๊ต เละ “Pyar” ปยา”(เทียบได้กับสลึง) ร้อยปยามีค่าเท่ากับหนึ่งจั๊ต  ดังนั้นเวลาจะพูดว่า “สองพัน หกร้อย เก้าสิบสี่จั๊ต ห้าสิบปยา” เป็น “hna-htaung chouk yar ko sae-lay Kyat, Pyar ngar-sae” “นิต์เทา เช่าก์ยา โก้แซเล้จั๊ต ปยาง้าแซ”
สำหรับลักษณนามของเวลาได้แก่ “hnit” “la” “pat” “yet / ne” “naryi” “mit-nit” “set-kan” (นิต์, ละ, ปัด, เยะ/เน่, นายี, มินิต์, แซ่กั่น) แปลว่า “ปี” “เดือน” “สัปดาห์” “วัน” “ชั่วโมง / โมง” “นาที” “วินาที”  ดังนั้นเวลาจะพูดว่า “ห้าวัน” เป็น ngar yet” “ง้าเยะ”, “สิบนาที” เป็น “sae mit-nit” “แซมินิต์”
นอกจากนั้นชาวพม่าจะแบ่งเวลาในแต่ละวันเป็น 12 ชั่วโมง2คาบคือกลางวันและกลางคืน  เมื่อนับ ชั่วโมงกำหนดบอกกลางวัน หรือกลางคืนไปด้วยกันกับตัวเลข อาทิ “มแน่ต์ชิต์นายี” “ma-net shit naryi” คือ“แปดโมงเช้า” และ “ญะชิต์นายี” “nya shit naryi” คือ“แปดโมงค่ำ (สองทุ่ม)”
ลักษณนามที่ใช้โดยกันกับตัวเลขของภาษาเมียนมามีมากไหมดั่งนึ้
“ซู” ลักษณนามการนับ พระพุทธรูป, เจดีย์ เช่น “พะรา โตงซู” คือ เจดีย์สามองค์
“ป้า” ลักษณนามการนับ พระสงฆ์, แม่ชี, เณร เช่น “โพงจี ง้าป้า” คือ พระสงฆ์ห้ารูป
“อู้” ลักษณนามการนับ คน (ภาษาเขียน) เช่น “เมต์ซเว นะอู้” คือ มิตรสหายสองคน
“เย่าก์” ลักษณนามการนับ คน เช่น “ลู เล้เย่าก์” คือ คนสี่คน
“เก่า” ลักษณนามการนับ สัตว์ เช่น “คเว้ ดะเก่า” คือ สุนัขหนี่งตัว
“ซี” ลักษณนามการนับ รถยนต์, มอเตอร์ไซต์, จักรยาน, เกวึยน เช่น “ก้า ชิต์ซี” คือ รถยนต์แปดคัน
“ซิน” ลักษณนามการนับ เรือ, เรือยนต์, รถไฟ, เครื่องบิน เช่น “เลยินเบียน โตงซิน” คือ เครื่องบินสามลำ
“โลง” ลักษณนามการนับ บ้าน, โต๊ะ, เครื่องพิมพ์ดึด, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์, ไข่, ผลไม้ เช่น “เอน์ หนะโลง” คือ บ้านสองหลัง, “เจะอุ แซโลง” คือ ไข่ไก่สิบลูก, “แตลีโฟน ตะโลง”คือ โทรศัพท์หนี่งเครื่อง
“แท” ลักษณนามการนับ สึ้อผ้า เช่น “อินจี หนะแท” คือ สึ้อผ้าสองตัว
“มโย้” ลักษณนามการนับ แบบ, ชนิด, ประเภท เช่น “เล้มโย้” คือ สี่แบบ
“แควะ” ลักษณนามการนับ แก้ว, ถ้วย, ชาม เช่น “เย ตะแควะ” คือ น้ำหนี่งแก้ว
“คาน” ลักษณนามการนับ ห้อง เช่น “อะคาน ตะคาน” คือ ห้องหนี่งห้อง
“ปะแว” ลักษณนามการนับ มื้ออาหาร (สำรับ), ที่ เช่น “ทะมิน หนะปะแว” คือ (สำรับ)ข้าวสองที่
“คุ” ลักษณนามการนับ อัน, อย่าง, แห่ง เช่น “โตงคุ” คือ สามอัน
“ยาน” ลักษณนามการนับ คู่ (รองเท้า, ตุ้มหู, กำไล) เช่น “พะนั๊ต ตะยาน” คือ รองเท้าหนี่งคู่
“ต้วย” ลักษณนามการนับ คู่ (คน, ตู้รถ) เช่น “อะต้วย ตะต้วย” คือ คู่(คน)หนี่งคู่
แต่ถ้าจะพูดหมายเลขโทรศัพท์ หรือเลขที่บ้าน พูดตัวเลขทั้งหมดเรียงต่อไปด้วยกันได้ อาทิ หมายเลขโทรศัพท์ 0891047447 จะพูดเป็นภาษาเมียนมาว่า “โตน-ญะ ชิต์ โก้ ติต์ โตน-ญะ เล้ คุนนิต์ เล้ เล้ คุนนิต์”©

Monday, April 16, 2012

การขอบคุณ : เมียน์มา (พม่า)

การขอบคุณ : เมียน์มา (พม่า)


ลำดับแรกเรียนรู้“การทักทาย”เป็นภาษาพม่าแล้ว อาทิตย์นี้มาเรียนรู้ว่าพูด “ขอบคุณ” กับชาวพม่าอย่างไร 
ชาวพม่าให้ความเคารพผู้อาวุโสกว่าอย่างมากเช่นเดียวกับชาวเอเชียชาติอื่นๆ ชาวพม่ายังให้ความ สำคัญกับการตอบแทนบุญคุณ หากได้รับความช่วยเหลือแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องทำสิ่งตอบแทนกลับคืนไป อย่างน้อยจะพูดขอบคุณกับความช่วยเหลือที่ได้รับจากใครก็ตาม
ดังนั้น “kye-zu-tin-bar-dae” [kye: zu: tin ba de] “เจ-ซู-ติน-บา-แด” เป็นคำขอบคุณทิ่พูดเป็นทางการทิ่จะใช้บ่อย แต่กับคนทิ่สนิทหรือ คนทิ่อายุน้อยกว่าผู้พูดหรือ คนทิ่คุณวุฒระดับต่ำกว่าผู้พูดจะพูดเป็นว่า “kye-zu-bae-naw”[kye: zu: be: no] “เจ-ซู-แบ-นอ” แปลว่าขอบคุณนะ
หากผู้พูดเป็นผู้หญิงควรลงท้ายด้วย “shin” [shin] (ชิน - ถ้าออกเสียง 'sh' ไม่เป็น) เป็นคำแสดงความสุภาพผู้หญิง เช่นเดียวกับ "ค่ะ" ในภาษาไทย ควรออกเสียงคล้ายตัว "-sh" ในภาษาอังกฤษ คือออกเสียงให้มีลมรั่วผ่านริมฝีปากออกมาเล็กน้อย  หากผู้พูดเป็นผู้ชายควรลงท้ายด้วย khin-mya” [khin bya] “คินเมี่ยย”[คินเบี่ยย] เป็นคำแสดงความสุภาพผู้ชาย แปลว่า “ครับ”   ดังนั้นคำขอบคุณทิ่จะพูดเป็นเต็มๆทิ่ควรจะใช้ ก็คือ“kye-zu-tin-bar-dae-shin” [kye: zu: tin ba de shin] “เจ-ซู-ติน-บา-แด-ชิน”  ขอบคุณค่ะ  และ “kye-zu-tin-bar-dae-khin-mya” [kye: zu: tin ba de khin bya.] “เจ-ซู-ติน-บา-แด-คินเมี่ยย” ขอบคุณครับ
คนทิ่ได้รับการขอบคุณส่วนมากจะตอบกลับโดยคำว่า “ya-bar-dae” [ya. ba de] “ยะ-บา-แด” แปลว่าไม่เป็นไร หรือว่า“nay-bar-zay” [ne ba ze] “เน-บา-เซ” แปลว่าไม่ต้องเหรอ   คำพูดเหล่านี้จะใช้กับคนที่รู้จักกันมาก่อนหรือสนิทกันมาแล้ว เช่นเพื่อนที่สนิท พี่น้องและ เพื่อนร่วมเรียน หรือเพื่อนร่วมงาน
สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยหรือ คนที่อายุน้อยกว่าพูดกับผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่าจะใช้ว่า “hoke-kae-bar-shin” [hou’ ke. ba shin.] “โห่-แกะ-บา-ชิน” แปลว่าได้ค่ะหรือ “hoke-kae-bar- khin-mya” [hou’ ke. ba khin bya.] “โห่-แกะ-บา-คินเมี่ยย” แปลว่าได้ครับ ซึ่งที่คำพูดที่เป็น คำยอมรับการขอบคุณจากคนที่พูดมา  ขอแทรกตรงนี้นิดหนึ่งว่าคำพูด “โห่-แกะ-บา-ชิน”และ“โห่-แกะ-บา-คินเมี่ยย” ใช้ได้กับหลายสถานการณ์เช่น ตอบว่าได้ ตอบว่าใช่ และ เวลาถูกเรียกชื่อแล้วตอกกลับ  บางครั้งเวลาเราฟังของใครบางคนพูดอยู่คำพูด “โห่-แกะ-บา-ชิน”และ“โห่-แกะ-บา-คินเมี่ยย” ให้รู้ว่าเรายังฟังอยู่หรือเราเห็นด้วยที่เขาพูดอยู่
ตอนสมัยก่อนที่ยังไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เวลาคนพม่าขอบคุณโดยกราบไหว้หรือ กราบเท้าและพูดคำขอบคุณ แต่ก็ตั้งแต่คนอังกฤษเข้ามาปกครองประเทศพม่ามีวัฒนธรรมอันงดงามนี้หายไปจนบัดนี้
ยังไงก็ตามเมื่อที่เรามาใช้ภาษาต่างชาติกับเจ้าของภาษานั้นๆ เราต้องสุภาพเอาไว้ก่อนเพื่อภาพพจน์ของเราเองที่เจ้าของภาษาต่างชาตินั้นจะได้ถูมิใจที่เราเรียนรู้วัฒนธรรมของเขาอย่างถูกต้อง และใช้ภาษาของเขาอย่างถูกต้อง ©