Monday, April 16, 2012

การขอบคุณ : เมียน์มา (พม่า)

การขอบคุณ : เมียน์มา (พม่า)


ลำดับแรกเรียนรู้“การทักทาย”เป็นภาษาพม่าแล้ว อาทิตย์นี้มาเรียนรู้ว่าพูด “ขอบคุณ” กับชาวพม่าอย่างไร 
ชาวพม่าให้ความเคารพผู้อาวุโสกว่าอย่างมากเช่นเดียวกับชาวเอเชียชาติอื่นๆ ชาวพม่ายังให้ความ สำคัญกับการตอบแทนบุญคุณ หากได้รับความช่วยเหลือแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องทำสิ่งตอบแทนกลับคืนไป อย่างน้อยจะพูดขอบคุณกับความช่วยเหลือที่ได้รับจากใครก็ตาม
ดังนั้น “kye-zu-tin-bar-dae” [kye: zu: tin ba de] “เจ-ซู-ติน-บา-แด” เป็นคำขอบคุณทิ่พูดเป็นทางการทิ่จะใช้บ่อย แต่กับคนทิ่สนิทหรือ คนทิ่อายุน้อยกว่าผู้พูดหรือ คนทิ่คุณวุฒระดับต่ำกว่าผู้พูดจะพูดเป็นว่า “kye-zu-bae-naw”[kye: zu: be: no] “เจ-ซู-แบ-นอ” แปลว่าขอบคุณนะ
หากผู้พูดเป็นผู้หญิงควรลงท้ายด้วย “shin” [shin] (ชิน - ถ้าออกเสียง 'sh' ไม่เป็น) เป็นคำแสดงความสุภาพผู้หญิง เช่นเดียวกับ "ค่ะ" ในภาษาไทย ควรออกเสียงคล้ายตัว "-sh" ในภาษาอังกฤษ คือออกเสียงให้มีลมรั่วผ่านริมฝีปากออกมาเล็กน้อย  หากผู้พูดเป็นผู้ชายควรลงท้ายด้วย khin-mya” [khin bya] “คินเมี่ยย”[คินเบี่ยย] เป็นคำแสดงความสุภาพผู้ชาย แปลว่า “ครับ”   ดังนั้นคำขอบคุณทิ่จะพูดเป็นเต็มๆทิ่ควรจะใช้ ก็คือ“kye-zu-tin-bar-dae-shin” [kye: zu: tin ba de shin] “เจ-ซู-ติน-บา-แด-ชิน”  ขอบคุณค่ะ  และ “kye-zu-tin-bar-dae-khin-mya” [kye: zu: tin ba de khin bya.] “เจ-ซู-ติน-บา-แด-คินเมี่ยย” ขอบคุณครับ
คนทิ่ได้รับการขอบคุณส่วนมากจะตอบกลับโดยคำว่า “ya-bar-dae” [ya. ba de] “ยะ-บา-แด” แปลว่าไม่เป็นไร หรือว่า“nay-bar-zay” [ne ba ze] “เน-บา-เซ” แปลว่าไม่ต้องเหรอ   คำพูดเหล่านี้จะใช้กับคนที่รู้จักกันมาก่อนหรือสนิทกันมาแล้ว เช่นเพื่อนที่สนิท พี่น้องและ เพื่อนร่วมเรียน หรือเพื่อนร่วมงาน
สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยหรือ คนที่อายุน้อยกว่าพูดกับผู้ใหญ่ที่อาวุโสกว่าจะใช้ว่า “hoke-kae-bar-shin” [hou’ ke. ba shin.] “โห่-แกะ-บา-ชิน” แปลว่าได้ค่ะหรือ “hoke-kae-bar- khin-mya” [hou’ ke. ba khin bya.] “โห่-แกะ-บา-คินเมี่ยย” แปลว่าได้ครับ ซึ่งที่คำพูดที่เป็น คำยอมรับการขอบคุณจากคนที่พูดมา  ขอแทรกตรงนี้นิดหนึ่งว่าคำพูด “โห่-แกะ-บา-ชิน”และ“โห่-แกะ-บา-คินเมี่ยย” ใช้ได้กับหลายสถานการณ์เช่น ตอบว่าได้ ตอบว่าใช่ และ เวลาถูกเรียกชื่อแล้วตอกกลับ  บางครั้งเวลาเราฟังของใครบางคนพูดอยู่คำพูด “โห่-แกะ-บา-ชิน”และ“โห่-แกะ-บา-คินเมี่ยย” ให้รู้ว่าเรายังฟังอยู่หรือเราเห็นด้วยที่เขาพูดอยู่
ตอนสมัยก่อนที่ยังไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เวลาคนพม่าขอบคุณโดยกราบไหว้หรือ กราบเท้าและพูดคำขอบคุณ แต่ก็ตั้งแต่คนอังกฤษเข้ามาปกครองประเทศพม่ามีวัฒนธรรมอันงดงามนี้หายไปจนบัดนี้
ยังไงก็ตามเมื่อที่เรามาใช้ภาษาต่างชาติกับเจ้าของภาษานั้นๆ เราต้องสุภาพเอาไว้ก่อนเพื่อภาพพจน์ของเราเองที่เจ้าของภาษาต่างชาตินั้นจะได้ถูมิใจที่เราเรียนรู้วัฒนธรรมของเขาอย่างถูกต้อง และใช้ภาษาของเขาอย่างถูกต้อง ©

การแนะนำตัว : เมียน์มา (พม่า)


การแนะนำตัว : เมียนมา (พม่า)


ลำดับแรกก่อนที่จะเรียนรู้แนะนำตัวกับชาวพม่า อยากให้ผู้อ่านเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อพม่าสักเล็กน้อย การเอ่ยชื่อชาวพม่า ควรเรียกชื่อเต็ม ห้ามเรียกเพียงบางส่วนของชื่อโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ชื่อของชาวพม่ามิได้มีเพียงชื่อจริงและนามสกุลเท่านั้น แต่ประกอบด้วย 3-4 ส่วน ซึ่งต้องกล่าวให้ครบทุกส่วน ชื่อพม่ามักต้องเป็นชื่อที่มีความหมายเป็นมงคล บ่งบอกรูปลักษณ์และลักษณะนิสัย ชาวพม่านิยมตั้งชื่อที่ให้ความหมายอันน่าภาคภูมิ แสดงความมั่งมีศรีสุขและแฝงด้วยเสน่ห์ โดยเฉพาะการตั้งชื่อของชาวพม่าเชื่อถือโหราศาสตร์ดวงชะตายังนิยมตั้งตามวันที่เกิด โดยกำหนดอักษรประจำวันเป็นอักษรของชื่อด้วย เพราะสาเหตุหลักนี้ชาวพม่าไม่นิยมใช้ระบบนามสกุล
ชาวพม่าไม่ใช้นามสกุลเช่นเดียวกันกับชาวทิเบต, ชาวจาวานีสจากอินโด, ชาวไอซ์แลนด์และ หลายๆประเทศอยู่ที่ตะวันออกแอฟริกา ที่จริงแล้วเหมือนกันกับวัฒนธรรมไทยดั่งเดิมก่อนค.ศ.1920 (โดยประมาณ) ทิ่ยังไม่นิยมใช้ระบบนามสกุลตามตะวันตก  ปัจจุบันที่ประเทศพม่าเริ่มเห็นการใช้นามสกุลเป็นส่วนตัวกันเล็กน้อย แต่ก็ส่วนใหญ่เอามาเป็นชื่อของคุณพ่อเป็นที่รู้จักทั่วประเทศเท่านั้น อาทิ นาง เอาง์ซานซุจี (Mrs. Aung San Suu Kyi) เป็นลูกสาวของฮีโร่อิสรภาพประเทศพม่า นายพล เอาง์ซาน (General Aung San), นักร้องชื่อดัง นางสาว เฮมาเนวิน (Ms. Hemar Ne Win) เป็นลูกสาวของนักแสดงชื่อดัง คอลิจิน เนวิน (College-gin Ne Win), ฯ
การเรียกชื่อชาวพม่าไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะต้องใช้คำนำหน้าชื่อ ได้แก่ [Maung] “เมาง์” (สำหรับเด็กชายหรือเด็กหนุ่ม) แทนคำนำหน้าว่า “Master, [Ma]“มะ” (สำหรับเด็กหญิงหรือเด็กสาว) แทนคำนำหน้าว่า “Miss”  พม่ามีคำเฉพาะสำหรับนำหน้าชื่อชายหญิงในวัยผู้ใหญ่  อย่างกรณีชายวัยผู้ใหญ่แต่ยังไม่ถึงวัยกลางคน  จะใช้คำนำหน้าชื่อว่า [Ko] “โก” หากเป็นผู้ใหญ่อายุเลยกลางคนและเรียกอย่างให้เกียรติจะใช้คำว่า[U] “อู”แทนคำนำหน้าว่า “Mr.” และส่วนผู้หญิงนั้นเรียกอย่างให้เกียรติจะต้องใช้คำนำหน้าว่า [Daw] “ดอแทนคำนำหน้าว่า “Ms.” หรือ “Mrs.” ที่สำคัญควรต้องใช้ให้เหมาะสมกับวัยและ ไม่ควรเรียกเฉพาะชื่อด้วยจะดูไม่สุภาพ  คำว่า “เมาง์” และ “มะ” ใช้ได้กับชายหรือหญิงที่มีอายุรุ่นเดียวกัน  หรือใช้กับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า  คำเหล่านี้เป็นคำสุภาพหากใช้อย่างเหมาะสมกับวัย
ส่วนสรรพนามสำหรับตนเองนั้น ผู้ชายจะใช้ว่า [kya-naw] “จะนอ”(กระผม) ส่วนผู้หญิงจะใช้ว่า [kya-ma] “จะมะ”(ดิฉัน)
ถ้าอยากใช้ภาษาพม่าแนะนำตัวก็ต้องพูดว่า[kya-naw/kya-ma ……. Bar] (จะนอ / จะมะ …(ชื่อตนเอง)... บา) แปลว่า“ผม/ดิฉัน …(ชื่อตนเอง)...”แนะนำชื่อตนเองก่อน แล้วถามต่อกับผู้ร่วมสนทนาว่า [nan mae bae lo khaw bar tha lae khamyar / shin] (นัน แม แบ โล ขอ บา ตะ แล คินเมี่ยย/ชิน) แปลว่า “ชื่อของคนเรียกว่าอะไร ครับ/ค่ะ” หลังจากแนะนำชื่อแล้ว [thi ya dar wun thar bar dae khamyar / shin] (ติ่ ยะ ดา วุ๋น ตา บา แด คินเมี่ยย/ชิน)ยินดีที่ได้รู้จัก ครับ/ค่ะ” สำหรับผู้ชายด้วยกันหลังจากแนะนำตัวกันแล้วจับมือแบบตะวันตกพร้อมกับยิ้ม แต่ก็สำหรับผู้ชายกับผู้หญิงไม่ควรแตะต้องและยื่นมือไปหาย่างเด็ดขาด ถือว่าไม่สุภาพ
หลังจากทักทายและแนะนำตัวแล้วชาวพม่านิยมแลกนามบัตร ซึ่งควรใช้ทัง้สองมือรับนามบัตรและควรดูนามบัตรของผู้ทิ่แนะนำก่อนเก็บเข้ากระเป๋าเพื่อเป็นการให้เกียรติ  ฉะนั้นหากจะคบหากับชาวพม่า ก็น่าที่จะพยายามจดจำชื่อเสียงเรียงนาม แม้ออกจะยากสักหน่อยแต่ก็จำเป็นยิ่ง  และถ้าจะให้สนิทสนมยิ่งขึ้นควรต้องรู้จักวิธีใช้คำเรียกเครือญาติแบบพม่า การเลือกใช้ก็ให้พิจารณาตามวัยและคุณวุฒของผู้ร่วมสนทนา  ©